วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559

ความหมายการสื่อสารวิทยาศาสตร์

กาลครั้งหนึ่ง....ไม่นานมานี้.....แป้งทอดมีโอกาสไปเข้าร่วมสัมมนาที่ตึกลูกเต๋า  หรือองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ที่เทคโนธานีคลอง 5 จังหวัดปทุมธานี ซึ่งพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติที่คลอง 5 นี้       นับเป็นพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งเดียวในโลกที่.... ไม่มีระบบขนส่งมวลชนเข้าถึง”…..(นี่เป็นคำพูดของผู้บริหารท่านหนึ่งของ อพวช. ที่กล่าวเปิดงานสัมมนานะคะ )                       
สำหรับหัวข้องานสัมมนาในครั้งนี้ ก็คือ เทคนิคการสื่อสารวิทยาศาสตร์ และผู้ที่ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรให้กับ อพวช. ก็คือ   Pro. Mark Brake    ศาสตราจารย์อาวุโส    ด้านการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ จาก University of Glamorgan  สหราชอาณาจักร   และ  Dr. Toby Murcott     นักเคมีวิทยา  จากสหราชอาณาจักร ที่ผันตัวเองมาเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์  ด้วยเหตุผลง่ายๆ คือ   “ I can talk better than doing it” หรือก็คือ   ผมว่า ผมสามารถพูดได้ดีกว่าที่ผมทำน่ะซึ่งก็คงเป็นเรื่องจริง เพราะในระหว่างการสัมมนา Dr. Murcott ได้เรียกเสียงหัวเราะจากผู้เข้าร่วมสัมมนาหลายต่อหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้ฟังจะรู้สึกสนุกสนานกับการบรรยาย แต่ก็ได้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของ การสื่อสารวิทยาศาสตร์    จากทั้งสองท่านเป็นอย่างมาก
การสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่จริงแล้ว คือ การประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางด้านการประชาสัมพันธ์ เพื่อ เสนอแนะแนวความคิดทางด้านวิทยาศาสตร์หรือเพื่อสื่อถึง กระบวนการคิดทางด้านวิทยาศาสตร์ให้ประชาชนเข้าใจ  และเกิดความตระหนักถึงความสำคัญทางด้านนี้ทำให้เกิดกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์ และนำกระบวนการคิดนี้ ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งการสื่อสารวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องมีเนื้อหา  (content ) ที่ ชัดเจน   และ มีจุดประสงค์หลัก ในสื่อสารว่า     ต้องการจะบอก  สอน หรือเสนอแนะ เรื่องอะไร   และจะใช้สื่อ (media)  รูปแบบใดในการสื่อสาร   ซึ่งในส่วนของ Pro. Brake นั้น  ท่านสนใจการใช้นิยายวิทยาศาสตร์ (Sci –Fiction)  ในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ เนื่องจากนิยายวิทยาศาสตร์สามารถสื่อสารเรื่องราวและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ให้คนธรรมดาเข้าใจได้ง่ายขึ้น และนิยายเหล่านั้น สามารถสะท้อนความรู้สึก ความเปลี่ยนแปลง ความนึกคิดของสังคมในยุคนั้น ๆ ได้ อย่าง เช่น เรื่องแฟรงเก้นสไตน์ สะท้อนถึงสังคมในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นต้น   ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ประเด็นที่นำเสนอผ่านนิยายวิทยาศาส ต ร์ จะมีอยู่ 4 ประเด็น คือ
·       space 
·       time
·       machine
·       monster  (ในความหมายของ Pro. Brake จะหมายถึง monster within us หรือด้านเลวร้ายที่ซ่อนอยู่ในจิตใจของเราทุกคน)
นอกจากนี้ Pro. Brake ยังชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของเรื่องราว ที่ถูกเขียนขึ้นในนิยายวิทยาศาสตร์กับการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันอีกด้วย Pro. Brake บรรยายว่า เรื่องราวที่ถูกเขียนขึ้นในนิยายวิทยาศาสตร์ตั้งแต่อดีต มักกลายเป็นเรื่องจริงในปัจจุบัน    เพราะพื้นฐานข้อมูลใน การเขียนมา จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์    เพียงแต่เพิ่มเติมจินตนาการ   ความคิด   ความฝัน และความคาดหวังของนักเขียนเข้าไป       
ประเด็นของนิยายวิทยาศาสตร์ไม่ใช่การสอน       แต่เป็นการอธิบาย และชี้ให้เห็นถึงผลกระทบทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นในยุคนั้น ๆ  และการอ่านนิยายวิทยาศาสตร์ก็สามารถทำให้ผู้คนในยุคนั้นๆ เข้าใจถึงพัฒนาการและวิวัฒนาการด้านวิทยาศาสตร์ที่มีบทบาทและผลกระทบต่อชีวิตของตนได้ง่ายขึ้น
ในส่วนของ Dr. Murcott เนื่องจากปัจจุบันท่านเป็นนักจัดรายการ ด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ให้กับทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กระจายเสียง BBC ของสหราชอาณาจักร ท่านจึงเน้นไปที่ประเด็น ด้านการรายงาน ข่าววิทยาศาสตร์ว่า โดยทั่วไปการรายงานข่าวสารทางด้านวิทยาศาสตร์นั้น มักไม่เสนอข่าวในรายละเอียดทั้งหมด เพื่อให้ตัวข่าวมีความน่าตื่นเต้น ทำให้ข่าวขายได้ เพราะเป็นที่สนใจของผู้คน แต่อย่างไรก็ตาม การนำเสนอข่าวสารทางวิทยาศาสตร์ที่ดีก็จะต้องนำเสนอข้อมูลให้ครบทั้งสองด้าน โดยเฉพาะถ้าข่าวนั้นจะทำให้เกิดความสับสนหรือตื่นตระหนกแก่ผู้คน เพราะโดยทั่วไปแล้วข่าวหรือการรายงานผลทางวิทยาศาสตร์นั้นมักจะมีความขัดแย้งกันเองเสมอ  ผู้นำเสนอข่าวจำเป็นต้องเข้าใจและตระหนักในความจริงที่ว่า แท้จริงแล้ว วิทยาศาสตร์นั้นก็ไม่สามารถฟันธงไปได้ว่า อะไรจริงหรือไม่จริง อะไรมีหรือไม่มี อะไรเป็นไปได้หรือไม่ได  วิทยาศาสตร์ทำหน้าที่เพียง แค่พิสูจน์สมมติฐานว่า สิ่งต่างๆ มีแนวโน้มว่่า เป็นไปได้หรือไม่ ดังนั้นการรายงานข่าวสารทางวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องสร้่างความสมดุล (balance in media)    โดยสื่อสารข้อมูลทั้งสองด้าน โดยเฉพาะเรื่องที่มีความขัดแย้งกันในหมูู่่นักวิทยาศาสตร์
นอกจากนี้ผู้สื่อสารต้องเข้าใจว่า การทำวิจัยหรือ ทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์นั้น ไม่มีจุดจบ เพราะเมื่อพบคำตอบในเรื่องหนึ่งแล้วมันก็จะนำพาไปสู่คำถามในเรื่องอื่นอีกไม่มีวันสิ้นสุด  ดั้งนั้นการรายงานหรือนำเสนอข่าวสารทางด้านวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องตระหนักถึงเรื่องนี้       และรายงานด้วยความเข้าใจ อีกทั้งยังต้องทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า      นักวิทยาศาสตร์เป็นคนธรรมดา และกิจกรรม ทางวิทยาศาสตร์ก็เป็นกิจกรรมทั่วๆ ไป เหมือนกิจกรรมอื่นๆ ที่ผู้คนในแต่ละสาขาอาชีพทำกัน การสร้างแนวคิดเช่นนี้ จะช่วยให้การสื่อสารหรือ นำเสนอข่าวสาร ด้านวิทยาศาสตร์ประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น เนื่องจากช่องว่างระหว่างนักวิทยาศาสตร์กับคนธรรมดาหายไปแล้วนั่นเอง

แหล่งที่มา https://www.gotoknow.org/posts/302765

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น