วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559

ความสำคัญการสื่อสารวิทยาศาสตร์

 ในโลกปัจจุบันนี้ การเป็นนักวิทยาศาสตร์อย่างเดียวคงไม่สามารถขับเคลื่อนประเทศชาติ หรือโลกให้ก้าวหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเรายังมีประชาชนคนทั่วไปมากมายที่ไม่มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ดังนั้นสิ่งสำคัญที่จะทำให้พวกเขาเหล่านั้นเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของความก้าวหน้าในวงการวิทยาศาสตร์ก็คือ การที่จะต้องมีใครซักคนถ่ายทอด สื่อสาร ความรู้เหล่านั้นไปยังพวกเขา และนี่เองเราจึงขาดเค้าไม่ได้
การสื่อสารวิทยาศาสตร์คืออะไร?
การสื่อสาร + วิทยาศาสตร์
การสื่อสารวิทยาศาสตร์ก็คือ การถ่ายทอดข่าวสาร(message) ทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่ยากแก่การเข้าใจของคนทั่วไป ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นเพื่อเผยแพร่แก่สาธารณะชน รวมถึงการถ่ายทอด หลักการทางวิทยาศาสตร์(scientific method) ให้ประชาชนได้รู้จักการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล และตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์

บทบาทของนักสื่อสารวิทยาศาสตร์มีอะไรบ้าง?
- เผยแพร่ความรู้ ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่ประชาชน
- สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ประชาชน

อาชีพของนักสื่อสารวิทยาศาสตร์
- ผู้สื่อข่าววิทยาศาสตร์ นสพ. วิทยุ ทีวี นิตยสาร
- นักสื่อสารองค์กร
- นักเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์
- บรรณาธิการ
- นักสร้างภาพยนตร์
- นักวิชาการด้าน
- ครู อาจารย์

วิธีการสื่อสาร
- การเขียน: ข่าว สารคดี บทความ นิยายวิทยาศาสตร์
- การพูด: บรรยาย อภิปราย สอนหนังสือ
- การแสดง: ภาพยนตร์ Science show ละครโทรทัศน์ เดี่ยวไมโครโฟน
- การร้องเพลง: การเล่นและบรรเลงดนตรี

รูปแบบของสื่อ
- สื่อสิ่งพิมพ์: หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หนังสือ ตำราเรียน
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์: วิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เนต พาวเวอร์พอยต์

ซึ่งปัจจุบันนี้ประเทศไทยเราก็มีนักสื่อสารวิทยาศาสตร์อยู่จำนวนหนึ่ง ไม่ว่าจะในบทบาทของนักเขียน หรือนักจัดรายการโทรทัศน์ หรือวิทยุ อันได้แก่
- รายการในเครือของ Mahidol Channel ซึ่งจัดทำโดยมหาวิทยาลัยมหิดล (www.mahidolchannel.com)
  - รายการ Descience
- นักเขียนอีกหลายท่านที่เขียนหนังสือวิทยาศาสตร์
- รายการวิทยุ(podcast) WiTcast   ที่จัดโดยแทนไท ประเสริฐกุล, (ป๋องแป๋ง) อาจวรงค์ จันทมาศ, และอาบัน สามัญชน

แหล่งที่มา  http://pantip.com/topic/32485502

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น